แสงสีกับวิทยาศาตร์...
  • 27 มิถุนายน 2017 at 11:21
  • 3204
  • 0

แสงสีกับวิทยาศาตร์...

            เซอร์ไอแซค นิวตันคือผู้ตั้งข้อสังเกตกับแสงที่ส่องลงมายังโลกยามเช้าในทุกๆวัน กลายเป็นที่มาของข้อสงสัยอื่นๆอีกมากมายรวมทั้งคำอธิบายว่าทำไมเราถึงเห็นสีสันที่สวยงามต่างๆเหล่านี้ ในแสงขาวนั้นสามารถแยกองค์ประกอบออกมาได้ถึง 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งอธิบายได้เป็นช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ตั้งแต่  400 nm จนถึง 700 nm แต่เราจะสามารถบอกค่าสีที่ชัดเจนตรวจสอบได้ระบุค่าลงไปให้เป็นที่เข้าใจตรงกันทุกคนได้อย่างไร 

                จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์เครื่องมือที่จะสามารถช่วยให้เราทราบค่าสีที่แท้จริงและมีความแม่นยำมากพอที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ทุกคน  มาตราฐาน CIE จึงเข้ามามีบทบาทในการอธิบายการส่องสว่างและแยกสีที่เกิดขึ้นในแต่และจุดนั้นเองเครื่องมือเหล่านี้สามารถระบุค่าความสว่าง และค่าความเป็นสีนั้นๆ ได้เป็น L* a*b*

โดยที่

  • L*  คือค่าความสว่างที่ 100 เท่ากับขาวสว่าง และ 0 คือดำมืด
  • a*  คือค่าความเป็นสีแดงและสีเขียว โดยด้านบวกจะเป็นสีแดงด้านลบจะเป็นสีเขียว
  • b* คือค่าความเป็นสีเหลืองและสีน้ำเงินโดยด้านบวกเป็นสีเหลือง และด้านลบเป็นสีน้ำเงิน

นอกจากนี้ยังมีการประเมินค่าความแตกต่างของสีโดยอ้างอิงจากค่า E  อีกด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดค่าควรมีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กกะทัดรัดพกพาสะดวกเนื่องจากเพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้นควรวัดค่าหลายๆครั้งและหากสามารถคาลิเบรทสีขาวได้ในตัวจะยิ่งทำให้การทดลองสะดวกยิ่งขึ้นเช่นเครื่องวัดสี ความแม่นยำสูง ยี่ห้อ 3nh Colorimeter  รุ่น NR110 เหมาะที่จะใช้กับงานที่หลากหลาย เช่น สี , พลาสติก , ยา เป็นต้น วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้เกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้ เทคโนโลยีทำให้คุณพบคำตอบของคำถามและสังสรรค์แสงสีให้สดใสตลอดไป